วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

ทฤษฎีและแนวความคิดทางการจัดการ

แนวความคิด (concepts)
          การสรุปและจัดระเบียบเรื่องราวจากรายละเอียดต่างๆ เพื่อวางเป็นหลักการ เพื่อพัฒนาต่อไปเป็นหลักและทฤษฎี
ทฤษฎี (theory)
          ความรู้ที่เกิดขึ้นมาจากการรวบรวมแนวความคิดและหลักการต่างๆ ให้เป็นกลุ่มก้อน
ทฤษฎีการบริหาร

          การพยายามสรุปความและจัดระเบียบเรื่องราวต่างๆทางการบริหารที่เป็นทั้งแนวความคิดและหลักการต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ

แนวความคิดทางการบริหาร (Management Concepts)

แนวความคิดทางการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Management) หรือ ยุคดั้งเดิม
     นักคิดที่สำคัญได้แก่..
          Frederick W. Taylor : บิดาแห่งการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ / บิดาแห่งการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์



          Henri Fayol บิดาแห่งทฤษฎีทางการบริหาร



แนวความคิดทางการบริหารแบบมนุษยสัมพันธ์  (Human Relations)
     นักคิดที่สำคัญได้แก่..
          George Elton Mayo : ได้ทำการทดลองที่โรงงาน Howthorne


ข้อเปรียบเทียบหลักการบริหารที่มีหลักเกณฑ์และมนุษยสัมพันธ์ 
      การบริหารที่มีหลักเกณฑ์
          1. งานและวิธีการทำงานเป็นหัวใจของการบริหาร
          2. คนถูกพิจารณาเป็นเพียงปัจจัยในการทำงาน
          3ให้ความสำคัญต่องานมากกว่าคน
     การบริหารแบบมนุษยสัมพันธ์
          1. คนเป็นหัวใจของการบริหาร
          2คนมีความต้องการทางด้านจิตใจและสังคม
          3ให้ความสำคัญกับคนมากกว่างาน
          4ทฤษฎีขัดแย้งกับทฤษฎีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์

การบริหารและการจัดการ 
(Management and Administration)


การบริหาร (Administration)
          การทำงานให้ลุล่วงไป โดยอาศัยคนอื่นเป็นคนทำ ( Peter F. Drucker)
          กระบวนการในการประสานงาน และรวบรวมกิจกรรมในการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล (Stephen P. Robbins)

การจัดการ (Management)
          กระบวนการในการประสานงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล


ความสัมพันธ์ขององค์การและการจัดการ
     1. องค์การ จะต้องอาศัยการจัดการเป็นเครื่องมือ ในการดำเนินงาน
     2. การจัดการ ต้องเกิดขึ้นในองค์การ
           “ No Organization No Management”
           “ No organization without men, No men without organization” (W.G. Bennis)  เพราะคนได้เข้าไปจัดการงานโดยอาศัยองค์การเป็นเครื่องมือ
     3. การจัดการที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีองค์การที่เหมาะสม


การจัดการกับประสิทธิภาพและประสิทธิผล
     ประสิทธิภาพ (Efficiency)
          “การวัดต้นทุนของทรัพยากร เทียบกับผลสำเร็จ หรือ สมรรถภาพโดยสามารถทำงานนั้นๆให้สำเร็จได้ โดยปราศจากการสิ้นเปลือง
     ประสิทธิผล (Effective)
          “การทำงานที่ได้ผล โดยสามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้




องค์การ (Organization)


          องค์การ หมายถึง การรวมตัวกันเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และร่วมกันทำงานในลักษณะกลุ่มที่มีการรวบรวมทรัพยากร และความพยายามของทุกฝ่ายมาดำเนินการร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน

ลักษณะขององค์การ
     1. มีบุคคลอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป รวมกันเข้าเป็นกลุ่ม มีเป้าหมายร่วมกัน
     2. มีโครงสร้างความสัมพันธ์ที่กำหนดขอบข่ายกิจกรรมต่างๆ ขององค์การในรูปโครงสร้าง 
     3. องค์การเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของการจัดการ โดยมององค์การในรูปของการจัดกิจกรรม หรืองานต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน แบ่งงานกันทำตามความสามารถ โดยมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ  อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบและการมอบหมายงาน ให้เหมาะสมกับภารกิจหลักขององค์การเป็นหน้าที่พื้นฐานทางการจัดการ
    4. องค์การ คือ กระบวนการ เป็นการลำดับการทำงานว่าภารกิจใดควรเริ่มก่อนหลัง ซึ่งการทำงานใดๆ หากเป็นไปด้วยความต่อเนื่องจะก่อให้เกิดความรวดเร็ว
     5. สมาชิกของกลุ่มจะเต็มใจเข้ามาร่วมกันทำงานพื่อให้ได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว

สาเหตุที่ต้องมีองค์การ
     1. มนุษย์ทุกคนมีความต้องการ และซึ่งเป็นความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุดที่อยากมีการอยู่ดีกินดียิ่งขึ้นไปกว่าแต่ก่อน
     2. มนุษย์ทุกคนมีความสามารถจำกัด ทั้งด้านกำลังกายและกำลังความคิด  ซึ่งทำให้แต่ละคนไม่กระทำสิ่งใดๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยตนเองตามลำพัง

วัตถุประสงค์ขององค์การ
     1. วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจหรือกำไร กำไรในที่นี้อาจแสดงในรูปตัวเงิน กำไรเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งหรืออ่อนแอขององค์การ องค์การใดที่มีกำไรสูงแสดงว่าองค์การนั้นกำลังเจริญเติบโตและมีความมั่นคงในทางตรงข้ามถ้าหากกำไรลดต่ำลงแสดงว่าองค์การนั้นกำลังมีปัญหา
     2. วัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้บริการ โดยเฉพาะองค์การที่เป็นของรัฐ การมุ่งจัดทำบริการสาธารณะต่างๆ สนองความต้องการของปนะชาชน สำหรับองค์การทางธุรกิจก็ได้มีการปรับปรุงวัตถุประสงค์ด้านการมุ่งกำไรสูงสุดมาเป็นการเสริมวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้บริการเพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันธุรกิจมีแต่การแข่งขัน
     3. วัตถุประสงค์ด้านสังคม เป็นองค์การภาคราชการเพราะการก่อตัวขององค์การเพื่อจัดบริการต่างๆ สนองความต้องการของประชาชนมุ่งเน้นสร้างความเจริญมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ

ลักษณะขององค์การ
     1. องค์การทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย วัด สมาคม ชมรม กลุ่มกิจกรรมต่างๆ
     2. องค์การทางราชการ ได้แก่ หน่วยงานราชการต่างๆ ซึ่งครอบคลุมถึง กระทรวง ทบวง ที่เรียกว่าระบบราชการ เป็นองค์การขนาดใหญ่ มีโครงสร้างที่ซับซ้อน
     3. องค์การเอกชน ได้แก่ บริษัท ร้านค้าต่างๆ ที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า

ประเภทขององค์การ
          การจำแนกประเภทขององค์การอาจแบ่งได้โดยยึดหลักต่างๆ กันดังนี้
     1. การจำแนกองค์การโดยยึดวัตถุประสงค์ขององค์การ
         1.1 องค์การเพื่อประโยชน์ของสมาชิก ได้แก่ องค์การที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของสมาชิกโดยตรง เช่น พรรคการเมือง สหกรณ์ สโมสร สมาคมวิชาชีพ เป็นต้น
           1.2 องค์การทางธุรกิจ ได้แก่ องค์การที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์หรือกำไร เช่น ห้างร้าน  บริษัท
ธนาคาร โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
        1.3  องค์การเพื่อบริการ ได้แก่ องค์การที่มุ่งสร้างประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สมาคมเพื่อการสังคมสงเคราะห์ต่างๆ เป็นต้น
        1.4 องค์การเพื่อสวัสดิภาพของประชาชน ได้แก่ องค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เช่น กระทรวง ทบวง กรม กองทหาร สถานีตำรวจ เป็นต้น
     2. การจำแนกองค์การโดยยึดโครงสร้าง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
           2.1 องค์การที่มีรูปแบบ (Formal Organization) เป็นองค์กรที่เป็นทางการ คือองค์การที่มีโครงสร้างอย่างมีรูปแบบ  ลักษณะจะมีลักษณะดังนี้
          - มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
          - มีการกำหนดในเรื่องหน่วยงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ของแต่ละแห่ง
          - มีการกำหนดเรื่องอำนาจ ในการบังคับบัญชา และวินิจฉัยสั่งงานโดยกำหนดลดหลั่นกันเป็นลำดับ
          - การกำหนดความสัมพันธ์ และการติดต่อของหน่วยงาน แสดงให้ปรากฏว่ากิจการต่างๆ ขององค์การมีการจัดการแบ่งแยกกันอย่างไร ใครมีอำนาจหน้าที่อย่างไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
        2.2 องค์การไร้รูปแบบ (Informal Organization) หรือองค์การอรูปนัย  หรือองค์การนอกรูปแบบ หรือองค์การที่ไม่เป็นทางการ องค์การประเภทนี้เป็นองค์การที่ไม่มีโครงสร้าง  ไม่มีระเบียบและไม่มีกฏกำหนดแน่นอน ไม่มีกำหนดหน้าที่ของหน่วยงาน แต่ละคน ไม่มีสายการบังคับบัญชา วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การขึ้นอยู่กับความพอใจ และความสมัครใจของบุคคลที่มารวมกัน